|
ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า
แม่สรวย |
|
คำนำ |
|
ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า เป็นองค์กรด้านศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
ที่ทำงานกับคริสตชนซึ่งมีความเชื่อแบบคาทอลิก ในเขตอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
โดยมีวัดคาทอลิกเป็นศูนย์กลาง เช่นเดียวกับชุมชนคาทอลิกในเขตอำเภออื่น ๆ
ของจังหวัดเชียงราย หรือทั่วประเทศไทย และทั่วโลก
ดังเช่นที่เขตอำเภอเวียงป่าเป้า เชียงราย มีศูนย์กลางที่วัดคาทอลิกนักบุญเทเรซา
โดยมีโรงเรียนนุชนาถอนุสรณ์
เป็นกิจการภายนอกที่มีรากฐานจากอุดมการณ์ความเชื่อแบบคาทอลิก เขตอำเภอเมืองเชียงราย
มีศูนย์กลางที่วัดแม่พระบังเกิด และมีโรงเรียนสันติวิทยา เขตอำเภอพาน
จังหวัดเชียงราย มีศูนย์กลางที่วัดแม่พระองค์อุปถัมภ์ และมีโรงเรียนศิริมาตย์เทวี
หรือเขตอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีศูนย์กลางที่วัดนักบุญ ไมเกิล การีกอยส์
และมีโรงเรียนเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ เป็นต้น
|
|
ประวัติความเป็นมาของศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า |
|
ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า
ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในพื้นที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ.
2533
ภายหลังได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการจากผู้ใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกให้เป็นเขตปกครองอภิบาลคริสตชนคาทอลิก
โดยแยกออกมาจากเดิมที่รวมอยู่กับเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีอธิการศูนย์ฯ คนแรก
คือ บาทหลวงโกราโด ชิเชรี ชาวอิตาเลียน |
|
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 บาทหลวงเมาริซซิโอ อารีออลดี
ชาวอิตาเลียน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการศูนย์ฯ
คนต่อมาและได้ดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 31 เมษายน 2553 |
|
วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จนถึง วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558 บาทหลวงราฟฟาแอล
ปาเวซี ชาวอิตาเลียน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการศูนย์ฯ คนที่ 3
|
|
นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 บาทหลวงวาเลรีโอ ซาล่า
ชาวอิตาเลียน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการศูนย์ฯ คนที่ 4
และกำลังดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงปัจจุบัน |
|
โครงสร้างพระศาสนจักรคาทอลิก |
|
คริสตชนคาทอลิกทั่วโลกได้รับการสืบทอดหลักความเชื่อ
และการปฏิบัติพิธีกรรม ภายใต้ความเป็นหนึ่งเดียวกันของโครงสร้างพระศาสนจักรคาทอลิก
ดังนี้ |
|
|
|
กิจการของศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า |
|
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551
กิจการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับงานสงเคราะห์และพัฒนาที่ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้าได้เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2533 ที่เริ่มก่อตั้งศูนย์ฯ ได้ถูกโอนเข้าไปอยู่ภายใต้ “มูลนิธิดวงใจพ่อ”
ที่ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อสานต่อกิจการดังกล่าวทั้งหมด
(ดูรายละเอียดในกิจกรรมมูลนิธิดวงใจพ่อ) |
|
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า
จึงต่อเนื่องการดำเนินกิจการอันเป็นภารกิจหลักเพียงประการเดียวคือ งานด้านศาสนา |
|
งานด้านศาสนาและอภิบาลสัตบุรุษ
|
เป็นงานรากฐานของศูนย์คาทอลิกพระจิตเจ้า
เพื่อดูแลด้านความเชื่อและพิธีกรรมให้แก่
คริสตชนคาทอลิกในเขตความรับผิดชอบของศูนย์ฯ โดยมีรูปแบบการทำงานใน 2 ลักษณะ คือ
|
|
1.
การประกอบพิธีกรรมและสอนหลักธรรมคำสอน
|
ได้แก่การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามจารีตคาทอลิก
ให้แก่ผู้มีความเชื่อแบบคาทอลิก อาทิ
การประกอบพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณพระเจ้าอย่างน้อยทุกวันอาทิตย์ และในวาระอื่น
เช่นพิธีปลงศพ ฯลฯ การโปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ การร่วมสวดภาวนา
รวมถึงการเทศน์สอนหลักธรรมคำสอนและพระวาจาของพระเจ้า เป็นต้น
โดยการปฏิบัติกิจทางศาสนาเหล่านี้ในบางกิจจำเป็นต้องมีบาทหลวงเป็นผู้ประกอบเท่านั้น
แต่บางกิจสามารถมีผู้แทนที่มีความรู้ปฏิบัติแทนได้ ดังนั้น
จึงสอดคล้องกับรูปแบบการทำงานด้านศาสนาของศูนย์แบบที่ ๒
ในการพัฒนาบุคลากรด้านศาสนา
เพื่อเป็นผู้แทนในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกับชาวบ้าน
เมื่อบาทหลวงไม่สามารถไปดำเนินการให้ได้
|
|
2. การอบรมบุคลากร
|
นอกเหนือจาก “บาทหลวง” ซึ่งเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก
ที่ต้องได้รับการอบรมด้านศาสนาควบคู่กับความรู้ทางโลกและสังคมไม่น้อยกว่า 10 ปี
ก่อนจะได้รับการเจิมเป็นบาทหลวง โดยถือรูปแบบชีวิตโสดที่ไม่มีครอบครัว
ตามจารีตคาทอลิกแล้ว ศูนย์ฯ ยังมีบุคลากรด้านศาสนาที่สำคัญ ดังนี้
|
|
(1) ครูคำสอน หรืออาจารย์สอนศาสนา
เป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาในด้านศาสนาเพื่อเป็นอาจารย์สอนศาสนาโดยตรง
ปัจจุบันศูนย์มีบุคลากรผู้ทำหน้าที่นี้ 2 คน และกำลังศึกษาอีก 3 คน
โดยพักประจำที่ศูนย์
เพื่อให้การอบรมผู้นำสวดและคริสตชนที่มาเรียนรู้คำสอนคาทอลิก
|
|
(2) ผู้นำสวด
เป็นผู้แทนที่ชาวบ้านในแต่ละชุมชนคัดเลือกให้มารับการอบรมจากบาทหลวงและครูคำสอนที่ศูนย์
เพื่อสามารถกลับไปช่วยนำสวดภาวนา หรือประกอบพิธีกรรมบางอย่างในหมู่บ้านได้
โดยชาวบ้านจะมีการตกลงกันเองในด้านการช่วยเหลือผู้นำสวดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้
เพราะหลายครั้งที่ต้องลงมาอบรมหรือทำหน้าที่ในหมู่บ้าน
ผู้นำสวดจะไม่ได้ทำงานในไร่ของตน จึงต้องมีการเสียสละทั้งตัวผู้นำสวด
และชาวบ้านที่จะใช้วิธีต่างๆ เพื่อช่วยเหลือกัน อาทิ
การช่วยข้าวสารจากแต่ละครอบครัว หรือการช่วยแรงงาน แล้วแต่จะตกลงกันในหมู่บ้าน
โดยทางศูนย์จะช่วยสมทบค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเมื่อลงมารับการอบรมเท่านั้น
นอกจากนี้ ทางศูนย์ยังได้กำหนดคุณสมบัติบางอย่างของผู้นำสวดไว้ด้วย
เช่นการห้ามไม่ให้ผู้ที่รับหน้าที่ผู้นำสวด
รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ
หากขณะทำหน้าที่ผู้นำสวดและต้องการจะรับตำแหน่งทางการเมือง
จะต้องลาออกจากการเป็นผู้นำสวดก่อน
ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีความสับสนกันระหว่างบทบาทหน้าที่ทางการเมืองและศาสนา
|
|
(3) คริสตชน
ผู้ที่จะได้รับการเรียกว่าเป็นคริสตชนโดยสมบูรณ์ตามความเชื่อคาทอลิก
จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการรับศีลล้างบาปตามความเชื่อคาทอลิกก่อนเท่านั้น
ดังนั้นชาวบ้านที่สนใจจะต้องมาสมัครเพื่อเรียนหลักคำสอนอย่างน้อย 1
ปีก่อน
จึงจะได้รับการพิจารณาให้รับศีลล้างบาปเพื่อเข้าเป็นคริสตชนโดยสมบูรณ์ได้
ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสนใจและเข้าใจในหลักความเชื่อทางศาสนาอย่างแท้จริง
มิใช่ต้องการเป็นคริสต์เพื่อเหตุผลอื่น โดยในระหว่างนี้ทุกเดือน
ผู้สมัครจะต้องลงมาเรียนคำสอนที่ศูนย์โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางเอง
สำหรับชาวบ้านบางส่วนที่สนใจศึกษาปฏิบัติตามความเชื่อคาทอลิก
แต่ยังไม่พร้อมรับศีลล้างบาปเข้าเป็นคริสตชนโดยสมบูรณ์
ก็ถือเป็นกลุ่มที่ทางศูนย์ให้ความดูแลโดยไม่เร่งรัดหรือบังคับแต่อย่างใด
เรียกกลุ่มนี้ว่า “ผู้สนใจ” 1
|
|
สถานที่ประกอบพิธีกรรม
|
เมื่อเกิดมีกลุ่มคริสตชนขึ้นในชุมชนต่างๆ แล้ว
ความต้องการด้านสถานที่เพื่อร่วมกันสวดภาวนาและประกอบพิธีกรรมก็ตามมา
สำหรับการสร้างโบสถ์ของกลุ่มคริสตชนคาทอลิกรวมทั้งการซื้อที่ดินเพื่อเป็นสถานที่ตั้งของโบสถ์
2 ชาวบ้านจะมีการร่วมมือช่วยกันเอง ทั้งในด้านการรวบรวมงบประมาณ
และการร่วมแรงงานเพื่อก่อสร้างโบสถ์แบบง่ายๆ ตามกำลังของแต่ละชุมชน
โดยทางศูนย์จะร่วมสมทบส่วนหนึ่งเท่านั้น |
|
|
(ข้อมูลปรับแก้ไข ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2559)
|
|
|
|
______________________________ |
1 ปัจจุบันศูนย์มีจำนวนผู้สนใจ
มากกว่าจำนวนคริสตชนที่รับศีลล้างบาปโดยสมบูรณ์แล้ว
เนื่องจากทางศูนย์ไม่ได้มีแนวทางการเผยแพร่ศาสนาแบบ Proselitism
หรือการวิ่งหาสมาชิก โดยการชักชวนหรือโฆษณา
(อ่านรายละเอียดได้ในเอกสารสังคายนาวาติกัน ครั้งที่ 2)
แต่จะให้เป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละบุคคล |
|
2
ที่ดินที่ชาวบ้านร่วมกันซื้อเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งของโบสถ์ทุกแห่ง
จะมีใบรับรองของผู้ใหญ่บ้านหรือ อบต. ในชุมชน |
|
|
|